Breadcrumb

  1. Home
  2. ข้อมูลภาษาไทย
  3. ผู้ให้บริการด้านสุขภาพสามารถช่วยผู้ป่วยที่เคยใช้ฝิ่นในปัจจุบันและอดีตให้คงสภาพการจ้างงานได้อย่างไร

ผู้ให้บริการด้านสุขภาพสามารถช่วยผู้ป่วยที่เคยใช้ฝิ่นในปัจจุบันและอดีตให้คงสภาพการจ้างงานได้อย่างไร

คนไข้ที่มีประวัติการใช้ฝิ่น หรือการใช้ฝิ่นในทางที่ผิด อาจมีสิทธิ์ภายใต้กฎหมายคนพิการอเมริกัน(ADA) ในการได้รับการอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมซึ่งจะช่วยให้พวกเขายังคงทำงานและเข้ารับการรักษาได้[1]  บางครั้งท่านอาจถูกร้องขอให้จัดเตรียมเอกสารทางการแพทย์อย่างจำกัดเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการอำนวยความสะดวกที่เหมาะสม แม้ว่าผู้ป่วยที่ใช้ยาฝิ่นตามใบสั่งแพทย์หรือผู้ที่เคยติดฝิ่นในอดีตที่ไม่ต้องการได้รับการอำนวยความสะดวกในการทำงานนั้น นายจ้างของเขาหรือเธออาจยังคงขอเอกสารทางการแพทย์จากท่านภายใต้ ADA เพื่อตัดสินใจว่าบุคคลนั้นสามารถทำงานได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพหรือไม่ในการทำงานบางงาน

เอกสารข้อเท็จจริงนี้ให้คำอธิบายโดยย่อเกี่ยวกับบทบาทของผู้ให้บริการด้านสุขภาพภายใต้ ADA เมื่อผู้ป่วยที่ใช้ยากลุ่มฝิ่นต้องการการอำนวยความสะดวกที่เหมาะสม และเมื่อมีคำถามเกิดขึ้นเกี่ยวกับความสามารถของผู้ป่วยในการปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย  ข้อมูลเหล่านี้ไม่ใช่นโยบายใหม่ แต่เอกสารนี้ใช้หลักการที่กำหนดไว้แล้วในบทบัญญัติทางกฎหมายและข้อบังคับของ ADA รวมถึงคำแนะนำที่ออกก่อนหน้านี้ เนื้อหาของสิ่งพิมพ์นี้ไม่มีผลบังคับและผลของกฎหมายและไม่มีเจตนาผูกมัดต่อสาธารณะในทางใดทางหนึ่ง  เอกสารเผยแพร่นี้มีวัตถุประสงค์ที่จะให้ความชัดเจนแก่สาธารณชนเกี่ยวกับข้อกำหนดที่มีอยู่ภายใต้กฎหมายเท่านั้น

ข้อมูลความเป็นมาเกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกที่เหมาะสม

1. การอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมคืออะไร

การอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมคือการเปลี่ยนแปลงบางอย่างในวิธีการทำงานตามปกติในที่ทำงาน เช่น การเปลี่ยนแปลงเวลาพักหรือตารางการทำงาน (เช่น การจัดตารางงานในช่วงการรักษา) การเปลี่ยนแปลงรอบเวลาการทำงาน หรือการย้ายไปทำงานในตำแหน่งอื่นชั่วคราว นี่เป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น พนักงานมีอิสระที่จะร้องขอ และนายจ้างมีอิสระที่จะเสนอคำแนะนำในการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงอื่นๆ อย่างไรก็ตาม นายจ้างไม่ต้องลดมาตรฐานในการผลิตหรือการปฏิบัติงาน หรือลดขั้นตอนการทำงานที่จำเป็น(ในหน้าที่ที่เป็นรากฐานสำคัญ) ของงาน การจ่ายค่าจ้างงานโดยที่ไม่ได้ปฏิบัติงาน หรือใช้เป็นข้อแก้ตัวในการใช้ยาอย่างผิดกฎหมายในงานเพื่อให้ได้รับการอำนวยความสะดวกที่เหมาะสม[2]

นายจ้างต้องจัดหาการอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมแก่ผู้สมัครงานและลูกจ้างที่ต้องการการอำนวยความสะดวกดังกล่าวเนื่องมาจากสภาวะทางการแพทย์ที่เข้าข่ายเป็น "ความพิการ" ภายใต้ ADA เว้นแต่การทำเช่นนั้นจะทำให้เกิดความลำบากหรือค่าใช้จ่ายอย่างมาก[3]

2. ผู้ป่วยที่ใช้ฝิ่นตามใบสั่งแพทย์เพื่อรักษาอาการปวดจากอาการทางการแพทย์สามารถขอการอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมได้หรือไม่?

หากความเจ็บปวดของผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับยาฝิ่นอย่างต่อเนื่อง อาการทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องอาจเข้าข่ายเป็นความพิการของ ADA คำจำกัดความของ "ความพิการ" ของ ADA นั้นแตกต่างจากคำจำกัดความที่ใช้สำหรับสิทธิประโยชน์ด้านประกันสังคม การมีความพิการของ ADA ไม่ได้หมายความว่ามีคนไม่สามารถทำงานได้ ภาวะต่างๆ เช่น มะเร็ง โรคกล้ามเนื้อเสื่อม และโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งควรเข้าข่ายได้อย่างง่ายดาย และภาวะอื่นๆ ก็อาจเข้าข่ายเช่นกัน เช่น ภาวะเกี่ยวกับกระดูกและข้อ ที่ทำให้เกิดอาการปวดซึ่งบางคนต้องได้รับใบสั่งยาฝิ่น[4]

 

3. ผู้ป่วยที่ติดฝิ่นสามารถได้รับการอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมได้หรือไม่?

ความผิดปกติของการใช้ฝิ่น (OUD) นั้นเป็นภาวะทางการแพทย์ที่สามารถวินิจฉัยได้และมีแนวโน้มว่าจะเข้าข่ายเป็นความพิการของ ADA

มีข้อยกเว้นสำหรับผู้ที่เสพเฮโรอีนหรือยาฝิ่นโดยไม่มีใบสั่งยาที่ถูกต้อง ADA ไม่ได้ยับยั้งนายจ้างไม่ให้ไล่พนักงานออก ปฏิเสธการจ้างงานกับผู้สมัครงาน หรือดำเนินการคัดค้านการปฏิเสธการจ้างงานในแง่อื่นๆ โดยอ้างอิงจากการใช้ยาสารเสพติดที่ผิดกฎหมายในปัจจุบัน

4. ผู้ป่วยที่ไม่ได้ติดฝิ่นอีกแล้ว แต่ต้องการการรักษาเพื่อหลีกเลี่ยงการกำเริบของโรค สามารถได้รับการอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมได้หรือไม่?

ผู้ป่วยที่เคยติดฝิ่นสามารถได้รับการอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมได้หากจำเป็นเนื่องจากมีการติดฝิ่นในอดีต ผู้ป่วยอาจได้รับตารางเวลาที่เปลี่ยนแปลงได้ เช่น เข้าร่วมการประชุมกลุ่มสนับสนุนหรือการบำบัดที่ช่วยหลีกเลี่ยงการกำเริบของโรค

5. ผู้ป่วยสามารถได้รับการอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมสำหรับสภาวะทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการติดฝิ่นได้หรือไม่?

ใช่ หากเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องคือความพิการของ ADA ภาวะโรคร่วมที่พบบ่อย เช่น ภาวะซึมเศร้าและโรคความเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนใจ (PTSD) ถือเป็นความพิการ และภาวะอื่นๆ ก็อาจเข้าข่ายเช่นกัน สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสภาวะสุขภาพจิตและ ADA โปรดดูภาวะซึมเศร้า PTSD และสภาวะสุขภาพจิตอื่น ในที่ทำงาน: สิทธิตามกฎหมายของคุณ ที่ https://www.eeoc.gov/laws/guidance/depression-ptsd-other-mental-health-conditions-workplace-your-legal-rights และบทบาทของผู้ให้บริการด้านสุขภาพจิตในการร้องขอรับการอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมของลูกค้าในที่ทำงาน ที่ https://www.eeoc.gov/laws/guidance/mental-health-providers-role-clients-request-reasonable-accommodation-work.

6. จะเกิดอะไรขึ้นหากผู้ป่วยไม่สามารถกลับไปทำงานได้ในขณะนี้ แม้ว่าจะได้รับการอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมแล้วก็ตาม?

หากผู้ป่วยไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ที่จำเป็นของงานทั้งหมดได้อย่างปลอดภัยและได้มาตรฐานในงานนั้น และเขาหรือเธอไม่มีการลางานโดยได้รับค่าจ้างให้ การลางานโดยไม่ได้รับค่าจ้างอาจใช้การอำนวยความสะดวกที่เหมาะสม ถ้ามันช่วยให้เขาหรือเธอพักฟื้นตัวได้ ความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่งานที่จำเป็น ผู้ป่วยของคุณอาจมีสิทธิ์ลาได้ภายใต้กฎหมายการลางานเพื่อการแพทย์และครอบครัว(FMLA) แผนกค่าจ้างและชั่วโมงแรงงานของกระทรวงแรงงานสหรัฐอเมริกาบังคับใช้ FMLA ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมายนี้ได้ที่ www.dol.gov/whd/fmla.

หากผู้ป่วยไม่สามารถทำงานประจำของตนต่อไปได้อย่างถาวร การมอบหมายงานใหม่ให้ไปทำงานอย่างอื่นอาจเป็นการอำนวยความสะดวกที่เหมาะสม หากมีตำแหน่งว่างอยู่[5]

การช่วยผู้ป่วยให้ได้รับการอำนวยความสะดวกที่เหมาะสม

7.  จะเกิดอะไรขึ้นหากผู้ป่วยต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับ ADA และการอำนวยความสะดวกที่เหมาะสม?

เนื่องจากผู้ป่วยบางรายอาจไม่ทราบเกี่ยวกับ ADA ดังนั้นอาจจะเป็นประโยชน์ที่จะอ้างอิงแหล่งข้อมูล EEOC เช่น การใช้โคเดอีน ออกซิโคโดน และฝิ่นอื่นๆ: สิทธิ์ในการจ้างงานของคุณ ซึ่งมีอยู่ที่ https://www.eeoc.gov/laws/guidance/use-codeine-oxycodone-and-other-opioids-information-employees.

8. ผู้ให้บริการด้านสุขภาพจะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการอำนวยความสะดวกได้อย่างไร?

 

หากผู้ป่วยตัดสินใจที่จะขอการอำนวยความสะดวกที่เหมาะสม นายจ้างอาจต้องการเอกสารทางการแพทย์ที่จะช่วยในการตัดสินใจว่าผู้ป่วยมีความพิการตาม ADA หรือไม่ และต้องการการอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมหรือไม่

ท่านสามารถจัดเตรียมเอกสารดังกล่าวได้โดยไม่จำเป็นต้องครอบคลุมข้อมูลทั้งหมด และท่านก็ไม่จำเป็นต้องเป็นแพทย์ก็สามารถให้ข้อมูลนั้นได้ นายจ้างจะต้องเก็บข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับคำขอการอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมไว้เป็นความลับ[6]

เอกสารจะใช้ในการสนับสนุนคำขอของผู้ป่วยซึ่งใช้ภาษาเรียบง่ายในการอธิบายสิ่งต่อไปนี้:

·        คุณสมบัติทางวิชาชีพของท่าน ลักษณะและระยะเวลาของความสัมพันธ์ของท่านกับผู้ป่วยเป็นข้อความสั้นๆก็เพียงพอแล้ว

·        ลักษณะสภาวะทางการแพทย์ของผู้ป่วย

o   หากผู้ป่วยต้องการการอำนวยความสะดวกเนื่องจากสภาวะทางการแพทย์ที่เป็นอยู่ หรือเนื่องจากผลข้างเคียงของการใช้ยากลุ่มฝิ่น ท่านควรระบุเงื่อนไขตามสภาวะที่แท้จริง

o   หากจำเป็นต้องมีการอำนวยความสะดวกอันเนื่องมาจาก OUD ก็เป็นการเพียงพอที่จะระบุว่าผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่ามี OUD

o   หากผู้ป่วยต้องการการอำนวยความสะดวกอันเนื่องมาจากมีอาการของโรคร่วม ท่านควรระบุภาวะอาการของโรคร่วม

o   หากผู้ป่วยขอไม่ให้มีการเปิดเผยว่าปัญหาของเขาหรือเธอในที่ทำงานเกิดจากการใช้ฝิ่นหรือสภาวะที่ซ่อนอยู่ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ฝิ่น นายจ้างอาจพอใจกับคำอธิบายทั่วไปเกี่ยวกับสถานะทางการแพทย์ของบุคคลนั้น (เช่น เขา หรือเธอกำลัง รักษาอาการติดยาหรือมีปัญหาสุขภาพจิต)

·        ข้อจำกัดในการทำงานของผู้ป่วยในกรณีที่ขาดการรักษา ให้อธิบายขอบเขตของอาการจะมีจำกัด "กิจกรรมสำคัญในชีวิต" เช่น การเดิน การนอนหลับ การยกของ การใช้สมาธิ หรือการดูแลตนเอง ในกรณีที่ขาดการรักษา หากมีผลกระทบต่อการทำงานได้เกิดขึ้นแล้วไป ๆ มา ๆ ให้อธิบายว่าอาการจะเป็นอย่างไรในภาวะที่เลวร้ายที่สุด ท่านเพียงแค่บอกข้อจำกัดที่สำคัญของกิจกรรมหลักในชีวิตเพียงหนึ่งอย่างเท่านั้น

·        ความต้องการการอำนวยความสะดวกที่เหมาะสม ให้อธิบายว่าสภาวะทางการแพทย์ของผู้ป่วยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นในที่ทำงานได้อย่างไร
o   ตัวอย่างเช่น การอธิบายว่าเหตุใดผู้ป่วยอาจต้องเปลี่ยนตารางเวลาทำงาน (เช่น เพื่อไปพบแพทย์ในระหว่างวันทำงาน) หรือการลาหยุดโดยไม่ได้รับค่าตอบแทน (เช่น เพื่อรับการรักษาหรือการพักฟื้น)

o   หากผู้ป่วยต้องการการอำนวยความสะดวกเพื่อทำหน้าที่ที่เฉพาะอย่าง ให้อธิบายว่าอาการของผู้ป่วยตามความเป็นจริงพร้อมการรักษาทำให้การปฏิบัติหน้าที่ยากขึ้นอย่างไร ท่านสามารถใส่ผลข้างเคียงของการใช้ยาของผู้ป่วยได้หากทำให้การทำงานยากขึ้นด้วย ถ้ามีความจำเป็นให้สอบถามผู้ป่วยโดยอธิบายหน้าที่งานของตน ให้จำกัดการสนทนาไว้เฉพาะปัญหาเฉพาะในงานนั้น ๆ ที่อาจได้รับความช่วยเหลือจากการได้รับการอำนวยความสะดวกที่เหมาะสม

·        คำแนะนำให้มีการอำนวยความสะดวก  หากท่านรู้ถึงการอำนวยความสะดวกที่มีประสิทธิภาพ ท่านอาจแนะนำให้ได้ แต่อย่าพูดเกินความจริงถึงความจำเป็นในการจัดหาการอำนวยความสะดวกที่พิเศษเฉพาะในกรณีที่มีทางเลือกอื่นซึ่งมีความจำเป็นต้องมี
 

ADA จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงภาระผูกพันด้านจริยธรรมหรือกฎหมายของท่านในฐานะผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพ ท่านควรร้องขอการอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมในนามของบุคคลหรือให้ข้อมูลทางการแพทย์เกี่ยวกับผู้ป่วยแก่นายจ้างเฉพาะในกรณีที่บุคคลนั้นร้องขอให้ท่านกระทำเช่นนั้นและอนุญาตให้ท่านให้ข้อมูล ขอย้ำอีกครั้งว่านายจ้างจำเป็นจะต้องเก็บข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับคำขอที่การอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมไว้เป็นความลับ

9. เอกสารทางการแพทย์จะถูกนำไปใช้อย่างไร?

นายจ้างอาจปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพเพื่อใช้ข้อมูลนี้ในการประเมินว่าควรจะจัดหาการอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมหรือไม่ และหากจะใช้ จะใช้ที่ใด บุคคลที่ประเมินคำขอนั้นอาจติดต่อท่านเพื่อขอคำชี้แจงในสิ่งที่ท่านเขียนหรือให้ข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อการพิจารณา ตัวอย่างเช่น หากการอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมที่ร้องขอนั้นยากเกินไปหรือมีค่าใช้จ่ายสูง เขาหรือเธออาจถามว่าการอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมอื่นที่มีประสิทธิภาพหรือไม่

ข้อมูลที่ทางท่านให้ไม่สามารถใช้ในทางกฎหมายเพื่อพิสูจน์การดำเนินการคัดค้านการจ้างงาน เว้นแต่ว่าจะแสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยของท่านนั้นถูกตัดสิทธิ์สำหรับตำแหน่งภายใต้กฎหมายของรัฐบาลกลาง การใช้ยาเสพติดอย่างผิดกฎหมาย หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่สำคัญได้อย่างปลอดภัยและเต็มความสามารถ แม้ว่าจะมีที่การอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมก็ตาม [7]

ข้อกังวลด้านความปลอดภัย

10. จะเกิดอะไรขึ้นหากนายจ้างถามว่าผู้ป่วยว่าจะมีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยหรือไม่?

กฎหมายของรัฐบาลกลางกำหนดว่าการจ้างงานจำนวนไม่มาก นายจ้างต้องตรวจสอบว่าพนักงานของตนมีคุณสมบัติตรงตามมาตรฐานทางการแพทย์บางประการเพื่อเหตุผลด้านความปลอดภัย แต่สำหรับงานส่วนใหญ่ การตัดสินใจที่จะระงับหน้าที่ของบุคคลเนื่องจากความพิการจะต้องขึ้นอยู่กับการประเมินวัตถุประสงค์ของความเสี่ยงด้านความปลอดภัยที่มาพร้อมกับสภาวะของการทำงานจริง  หากนายจ้างถามว่าผู้ป่วยมีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยหรือไม่ มีแนวโน้มว่าจะมีการขอข้อมูลทางการแพทย์จากท่านเพื่อช่วยในการตัดสินใจว่าความพิการของผู้ป่วยสร้างความเสี่ยงด้านความปลอดภัยที่มีนัยสำคัญเพียงพอที่จะพิสูจน์เหตุผลของการพักงานหรือการกระทำที่ไม่พึงประสงค์อื่น ภายใต้กฎหมายหรือไม่ ข้อกังวลด้านความปลอดภัยจะเป็นเพียงเหตุผลในการระงับการปฏิบัติหน้าที่หรือการกระทำที่ไม่พึงประสงค์อื่นๆ หากความเสี่ยงเพิ่มขึ้นถึงระดับ "ภัยคุกคามโดยตรง" ซึ่งหมายถึงความเสี่ยงที่มีนัยสำคัญต่อการเกิดอันตรายร้ายแรงต่อตนเองหรือผู้อื่น ซึ่งไม่สามารถกำจัดหรือลดลงให้อยู่ในระดับของการอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมที่ยอมรับได้ [8]

11. การให้ข้อจำกัดแก่นายจ้างนั้นจะเป็นการเพียงพอหรือไม่ เช่น ห้ามใช้เครื่องจักรกลหนัก”?

ไม่ได้ ในการตัดสินใจว่าลูกจ้างจะได้รับ "ภัยคุกคามโดยตรง" หรือไม่ นายจ้างจำเป็นต้องมีข้อมูลที่จะช่วยให้พวกเขาประเมินระดับความเสี่ยงที่เกิดจากความพิการ โดยคำนึงถึงความน่าจะเป็นของอันตรายที่จะเกิดขึ้น ภาวะจวนตัวที่อาจจะเกิดอันตรายขึ้น ระยะเวลาของความเสี่ยงและความรุนแรงของอันตรายที่อาจเกิดขึ้น[9]

12. ข้อมูลประเภทใดที่ควรให้แก่นายจ้างเพื่อการตัดสินใจเรื่องความปลอดภัยอย่างเหมาะสม?

ท่านควรอธิบายเหตุการณ์ทางการแพทย์หรือพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องที่อาจเกิดขึ้นในการทำงาน (เช่น หมดสติหรือคลื่นไส้) และระบุความน่าจะเป็นที่จะเกิดขึ้น (หากเป็นการยากที่จะหาปริมาณความน่าจะเป็น การประมาณการอย่างไม่เป็นทางการอาจยังคงมีประโยชน์ เช่น การบอกว่าการสูญเสียสติในการทำงานจะ "ไม่น่าเป็นไปได้มาก" หรือ "ค่อนข้างเป็นไปได้" ในช่วงสองเดือนข้างหน้า) การประมาณการควรขึ้นอยู่กับข้อมูลทางการแพทย์ที่เป็นปัจจุบันที่สุด และควรคำนึงถึงรูปแบบการรักษาและประวัติทางการแพทย์ของบุคคลที่ได้รับการประเมิน ท่านควรอธิบายข้อควรระวังด้านความปลอดภัยที่จะลดโอกาสที่เหตุการณ์หรือพฤติกรรมทางการแพทย์ที่จะเกิดขึ้น

ในกรณีที่มีการเกี่ยวข้องกัน ให้พิจารณาและประเมินความเสี่ยงใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากสภาพของผู้ป่วยโดยพิจารณาจากประเภทงานที่ผู้ป่วยปฏิบัติการในแต่ละวัน ประเภทของอุปกรณ์ที่ใช้ การเข้าถึงวัตถุหรือสารที่เป็นอันตราย มาตรการป้องกันใด ที่มีอยู่ในสถานที่ทำงาน ประเภทของการบาดเจ็บหรืออันตรายอื่น ที่อาจเกิดขึ้นหากมีเหตุการณ์หรือพฤติกรรมทางการแพทย์ที่ระบุไว้เกิดขึ้น และความเป็นไปได้ที่การบาดเจ็บหรืออันตรายอื่น จะเกิดขึ้นอันเป็นผลมาจากเหตุการณ์หรือพฤติกรรมดังกล่าว หากท่านไม่มีข้อมูลนี้แต่คิดว่าจำเป็นต้องใช้เพื่อทำการประเมินที่ถูกต้อง ท่านควรสอบถามจากนายจ้าง

ข้อมูลเพิ่มเติม

สำหรับข้อมูลทั่วไป เยี่ยมชมเว็บไซต์ของคณะกรรมการเพื่อความเสมอภาคในการทำงาน (EEOC) (https://www.eeoc.gov) หรือโทรไป EEOC ที่ 1-800-669-4000 (เสียง), 1-800-669-6820 (TTY) หรือทางสายด่วนเข้าถึงภาษามือที่ 1-844-234-5122 (ASL Video โทรศัพท์

 


[1] 42 U.S.C. § 12112, et seq.; 29 C.F.R. §§ 1630.1 – 1630.16.  การไม่เลือกปฏิบัติในแง่มุมต่างๆ ของการอำนวยความสะดวกที่เหมาะสม และการคุ้มครองอื่นๆ ภายใต้ลักษณะ I ของ ADA ที่ได้กล่าวถึงในส่วนต่างๆ ของกฎหมายและข้อบังคับ ดูที่ e.g., 29 C.F.R. § 1630.2(g) –(k) (ความพิการในปัจจุบันและบันทึกความพิการในอดีต) และ1630.9 (การอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมโดยทั่วไปดูเพิ่มเติมที่ 42 U.S.C. § 12114 (ข้อยกเว้นที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาอย่างผิดกฎหมายในปัจจุบัน)

[2] 42 U.S.C. § 12114, 12210; 29 C.F.R. § 1630.3, 1630.16(b) และ (c).

[3] 42 U.S.C. § § 12111(10), 12112(b)(5); 29 C.F.R. §§ 1630.2(o) และ (p), และ1630.9.

[4] 42 U.S.C. § 12102; 29 C.F.R. § 1630.2(g)-(k).

[5] 42 U.S.C. §§ 12111(8), 12111(9)(B); 29 C.F.R. §§ 1630.2(m)-(p).

[6] 42 U.S.C. § 12112(d); 29 C.F.R. § 1630.14(d)(4).

[7] 42 U.S.C § 12203; 29 C.F.R § 1630.12.

[8] 42 U.S.C. § 12113(b); 29 C.F.R. § 1630.2(r).

[9] Id.